ระบบฟิวดัลหรือระบบศักดินาสวามิภักดิ์
ระบบฟิวดัล คือ ระบบศักดินาสวามิภักดิ์(ของไทย) มีลักษณะเป็นการรวมอำนาจมาที่กษัตริย์และกระจายอำนาจหรือถ่ายทอดลงมาเป็นขั้นๆตามตำแหน่งจนถึงข้าติดที่ดิน ระบบนี้เกิดขึ้นในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 9 ระบบนี้ครอบคลุมทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองการปกครองของยุโยปสมัยกลาง
ในสมัยของจักรพรรดิชาร์เลอมาญ พระองค์ทรงพยายามฟื้นฟูระบอบการปกครองแบบรวมศูนย์อำนาจโดยรับแนวความริดจากคริสต์ศาสนา การปกครองส่วนกลางรวมศูนย์อำนาจที่องค์จักรพรรดิและราชสำนัก การปกครองส่วนภูมิภาคแบ่งเป็นมณฑล โดยพระองค์ส่งขุนนางไปปกครองและให้สิทธิ์ขาดกับขุนนางเหล่านั้น เมื่อพระองค์สิ้นพระชนม์ ค.ศ.814 จักรวรรดิเริ่มแตกแยก จนในที่สุดหลัง ค.ศ. 843 จักรวรรดิถูกแบ่งแยกเป็น 3 ส่วน คืออาณาจักรฝรั่งเศส เยอรมัน อิตาลี ต่อมาพวกขุนนางมีอำนาจขึ้นมาเรื่อยๆ จนสามารถแบ่งออกเป็นแคว้นต่างๆ นำไปสู่ระบบฟิวดัล
🔚ที่มาของระบบนี้ เป็นลักษณะการปกครองและสังคมของชนเผ่าเยอรมัน ( เน้นความผูกพันระหว่างนักรบกับหัวหน้านักรบตามประเพณี Comitatus โดยกษัตริย์กระจายอำนาจไปสู่หัวหน้าหรือกลุ่มนักรบ ) และลักษณะการปกครองที่สืบทอดมาจากโรมัน ( ระหว่างผู้อุปการะกับผู้รับอุปการะและความสัมพันธ์ระหว่าง นายกับข้าทาส ) ผสมผสานกันเป็นรากฐานของยุโรปสมัยกลาง ในช่วงที่อาณาจักรโรมันตะวันตกล่มสลาย ชาวนาเจ้าของที่ดินต้องหลบหนี ลี้ภัย เกิดความหวาดกลัว จึงต้องยกที่ดินให้ผู้มีอำนาจเพื่อขอความคุ้มครองเจ้าของที่ดินเดิมเปลี่ยนสภาพมาเป็นผู้เช่าที่ดิน แต่เป็นเสรีชนและกษัตริย์มีอาณาจักรกว้าง
คำว่า feudalism มาจากคำว่า fiefs หมายถึง ที่ดินหรือทุ่งกว้าง ทุ่งโล่งๆ
ลักษณะของระบบฟิวดัล คือ
👉ที่ดินที่เป็นพันธสัญญาระหว่างเจ้านายซึ่งเป็นเจ้านายที่ดินกับผู้ใช้ประโยชน์ในที่ดินที่เรียกว่า ข้า
พวกเจ้าของที่ดินจะเป็นพวกขุนนาง เรียกว่า ลอร์ด(lord) ส่วนผู้ที่อยู่ใต้อำนาจของขุนนางเรียกว่า
วัสซัล(vassal) ซึ่งที่ดินแต่ละแห่งที่ลอร์ดเป็นเจ้าของปกครองจะเรียกว่า เเมเนอร์(manor) โดยแต่ละแมเนอร์จะขึ้นกับขุนนางชั้นสูงหรือกษัตริย์อีกทอดหนึ่งตามจำนวนที่ดินและตำแหน่งที่ได้รับ
ระบบแมเนอร์(Manorial System)คืออะไร
เป็นระบบเศรษฐกิจคำว่า “Manor” แปลว่า คฤหาสน์ หมายถึงบริเวณที่ดินที่กว้างใหญ่รอบๆคฤหาสน์ของขุนนาง ขนาดของที่ดินขึ้นอยู่กับอำนาจ และความั่งคั่งของเจ้าของ บริเวณรอบๆคฤหาส์จะมีหมู่บ้าน ชาวนาและทาสติดที่ดิน ช่างฝีมือ พ่อค้า แต่ละแมเนอร์จะมีการผลิตอาหารเลี้ยงตัวเองโดยขุนนางควบคุมการผลิต ที่ดินที่ขุนนางให้ชาวนาทาสติดที่ดินทำจะแบ่งการเพาะปลูกในระบบ Three Field System ออกเป็น 3 ส่วน หมุนเวียนทำ ปีแรกทำ แปลงที่ 1 และ 2 ส่วน แปลงที่ 3 จะเก็บไว้เลี้ยงสัตว์
👉ที่ดินทั่วราชอาณาจักรเป็นของกษัตริย์ แต่กษัตริย์ได้พระราชทานที่ดินแก่ขุนนางระดับสูง และขุนนางระดับสูงก็จะแบ่งที่ดินให้แก่ขุนนางระดับต่ำกว่าอีกทอดหนึ่ง ขุนนางระดับสูงจึงเป็นข้าหรือวัสซัลของกษัตริย์ แต่เป็นเจ้านายหรือลอร์ดของขุนนางระดับต่ำกว่าลงไปอีก ระบบนี้จะจัดแบ่งที่ดินลงเป็นทอดๆจนถึงระดับล่างสุด คือ ข้าติดที่ดิน ซึ่งเป็นผลให้เกิดความจงรักภักดีระหว่างเจ้านายกับข้าโดยตรงต่อกัน กษัตริย์ที่เป็นเจ้านายในระดับบนสุดจึงไม่มีอำนาจในการควบคุมขุนนาง แต่ขุนนางมีพันธะต่อกษัตริย์ คือ การส่งกำลังไปช่วยในยามสงคราม ส่งภาษีตามระยะเวลาที่กำหนด ฝ่ายกษัตริย์มีหน้าที่ให้ความคุ้มครองแก่ขุนนาง
โครงสร้างทางสังคมของระบบฟิวดัล
1. กษัตริย์
มีฐานะเป็น Lord สูงสุดโดยมีขุนนางเป็น Vassal มีพันธะผูกพันทางหน้าที่ต่อกัน กษัตริย์จะพระราชทานที่ดินเป็นการมอบหมายอำนาจในการปกครอง ให้กับขุนนาง อำนาจของกษัตริย์อ่อนลงปกครองราษฎร์ที่อยู่รอบพระนคร ดินแดนส่วนอื่นๆเป็นของขุนนาง และมีความผูกพันกับกษัตริย์โดยยกย่องให้เป็นหัวหน้า มีข้อผูกพันกับกษัตริย์เพราะมีที่ดินอยู่ในอาณาเขตจึงยอมเป็น Vassal มีหน้าที่ช่วยเหลือพระเจ้าแผ่นดินยามสงคราม ที่ดินที่กษัตริย์พระราชทานให้สามารถริบคืนได้ถ้า Vassal ไม่ปฏิบัติตามสัญญาหรือสิ้นชีวิตโดย ไม่มีทายาท
2. ชนชั้นปกครองหรือขุนนางเจ้าของที่ดิน (Suzerain)นับตั้งแต่อัศวินขึ้นไป
ในฝรั่งเศส มีบรรดาศักดิ์เป็น Duke,Earl, Lord, Baron, Count มีการปกครองลดหลั่นตามลำดับขั้น ดูแลปกครองเสรีชนๆมีฐานะเป็น Vassal ของขุนนาง ขุนนางมีฐานะเป็นทั้ง Vassal ของกษัตริย์ ซึ่ง Vassal มีหน้าที่ส่งทหารของตนไปสมทบกับกองทัพของ Lord และช่วยเหลือทางการเงินแก่ Lord ขุนนางชั้นสูงยังมีฐานะเป็น Lord ของขุนนางชั้นต่ำกว่าลงมา ขุนนางเป็นเจ้าของปราสาทหรือคฤหาสน์ ยังมีขุนนางที่ผ่านการฝึกได้รับการสถาปนาแต่ตั้งให้เป็น อัศวิน(Knight)ไม่ใช่ขุนางที่สืบทอดทางสายโลหิต
3. เสรีชน (villain)
ส่วนใหญ่เป็นชาวนา เป็นผู้เช่าที่ดินซึ่งเคยเป็นของตนเองแต่ไม่มีภาระผูกติดกับที่ดิน หรือเป็นเจ้าของที่นาขนาดเล็ก ชาวนารายเล็กๆ
4. ทาสติดที่ดิน (serf)
คือ ชาวนาที่อาศัย ทำกินบนที่ดินตั้งแต่บรรพบุรุษ ต้องผูกติดกับที่ดิน จะโยกย้ายไปไหนไม่ได้ อยู่ในการควบคุมของเจ้านาย ต้องเสียภาษีรัชชูปการ ภาษีผลิตผลที่ผลิตได้ให้เจ้านาย ยอมให้เจ้านายเกณฑ์แรงงานขุดคู สร้างสะพาน
5. พระและนักบวช
มีบทบาททางการอบรมจิตใจให้แก่สามัญชน
รูปตัวอย่างแสดงการอยู่อาศัยของขุนนางและข้าติดที่ดิน
ข้าติดที่ดินจะอยู่ล้อมรอบขุนนางที่ปกครองดูแล ขุนนางจะเอาผลผลิตเกษตรกรรมจากข้าติดที่ดินและตอบแทนโดยการให้ความปลอดภัย
เพราะเหตุใดระบบฟิวดัลจึงเสื่อม
1. เนื่องจากการปฏิวัติทางเศรษฐกิจคริสต์ศตวรรษที่ 14
2. การฟื้นฟูการค้ากับตะวันออกใกล้ มีการไถ่ตัวทาสติดที่ดินเป็นอิสระโดยไปทำการค้าเป็นช่างฝีมือ มีการเลื่อนฐานะเป็นชนชั้นกลางและมีอิทธิพลางเศรษฐกิจ
3. เกิดโรคะบาด กาฬโรค ทั่วยุโรปในคริสต์ศตวรรษที่ 13-14 ทำให้แรงงานหายาก ทาสติดที่ดินมีโอกาสเป็นอิสระ โยกย้ายที่อยู่ ระบบแมเนอร์จึงสลายตัว
4. มีทหารรับจ้าง ชาวนา หนีไปเป็นทหารรับจ้าง เกิดจลาจลชาวไร่ ชาวนา
5. จากสงครามครูเสด และสงคราม 100 ปี ทำให้อัศวินเสียชีวิตมาก กษัตริย์ยึดอำนาจคืนจากขุนนางโดยมีพ่อค้า ชนชั้นกลางสนับสนุน กษัตริย์เริ่มติดต่อโดยตรงกับประชาชนทรงมีอำนาจปกครองอย่างแท้จริงยุบกองทัพของขุนนาง กล่าวได้ว่าระบบฟิวดัลได้วิวัฒนาการเป็นการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในสเปนและฝรั่งเศส
ที่มา: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.คณะอักษรศาสตร์. อารยธรรมสมัยโบราณ - สมัยกลาง.
กรุงเทพมหานคร:สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540
นันทนา กปิลกาญจน์.ประวัติศาสตร์และอารยธรรมโลก. พิมพ์ครั้งที่ 7,กรุงเทพมหานคร
โอเดียนสโตร์,2546 http://freedom-thing.blogspot.com/2011/09/feudalism.html
หนังสือเรียน ประวัติศาสตร์สากล ม.6
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น